หน้า 1 จากทั้งหมด 1

โรคเปลือกเน่า กับการรักษายางตายนึ่งด้วยฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์

โพสต์แล้ว: อังคาร 11 มิ.ย. 2013 7:34 am
โดย อ.บอล
จากทีมงานที่ลงพื้นที่นะครับ

มีการแจ้งข่าวมาว่าใช้ ฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์ รักษายางตายนึ่ง แล้วต้นยาง มีอาการเปลือกหลุดล่อนออกมา
จนทำให้ต้นยางกรีดไม่ได้

ก่อนอื่นผมขออธิบาย โรคเปลือกเน่าในยางพาราก่อนนะครับ อ้างอิงจากกรมวิชาการเกษตรนะครับ


โรคเปลือกเน่า (Mouldy rot) เป็นโรคที่ปรากฏบนหน้ากรีดในสวนยางพาราที่มีสภาพอากาศชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา หรือในสวนยางที่มีลักษณะทึบ ปลูกถี่โรคนี้ระบาดรุนแรงในบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร

สาเหตุของโรคเปลือกเน่ายางพารา

เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst.


ลักษณะอาการของโรคเปลือกเน่ายางพารา

เปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดมีลักษณะฉ่ำน้ำเป็นรอยซ้ำสีหม่น ต่อมาเปลือกเน่ายุบและปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวเทาเจริญตรงรอยแผล ถ้าอากาศชื้นเชื้อราจะเจริญปกคลุมเป็นแถบขนานกับรอยกรีดยางอย่างรวดเร็ว ทำให้เปลือกที่หน้ากรีดยางเน่า หลุดออก เห็นแต่เนื้อไม้สีดำ เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุบและบริเวณข้างเคียงรอยแผลออกดูจะไม่พบอาการเน่าลุกลามออกไป และไม่พบรอยสีดำที่เนื้อไม้ได้แผล ซึ่งต่างจากโรคเส้นดำ


การแพร่ระบาดของโรคเปลือกเน่า

สปอร์แพร่ระบาดโดยลม และแมลงเป็นพาหะนำไป นอกจากนี้ยังพบว่ามีการระบาดของโรคผ่านทางมีดกรีดยาง เชื้อราเจริญได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง

พืชอาศัยของเชื้้อสาเหตุโรคเปลือกเน่า

กาแฟ โกโก้ มะม่วง พืชตระกูลถั่ว มะพร้าว มันฝรั่ง

การป้องกันกำจัดโรคเปลือกเน่า

ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมยางพารา หรือพืชแซมยางพารา
ตัดแต่งกิ่งก้าน กำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน และไม่ควรปลูกยางพาราให้หนาแน่นจนเกินไป เพื่อลดความชื้นในสวนยางพารา
เมื่อต้นยางพาราเป็นโรค ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทาหน้ากรีดยาง โดยขูดเอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาสารเคมีจนกว่าหน้ากรีดยางจะแห้งเป็นปกติ
เบโนมิล(benomyl) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เบนเลท 50% WP โดยใช้ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารจับใบ 2 ซีซี พ่นหรือทาหน้ากรีดยาง
ออกซาไดซิล+ แมนโคเชบ(oxadixyl+ mancozeb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น แชนโดแฟน-เอ็ม 10 + 56% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง
ไธอะเบนดาโซล(thiabendazole) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น พรอนโด 40% WP โดยใช้ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
เมทาแลกซิล(metalaxyl) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เอพรอน 35% SD โดยใช้ในอัตรา 14 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549

Re: โรคเปลือกเน่า กับการรักษายางตายนึ่งด้วยฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์

โพสต์แล้ว: อังคาร 11 มิ.ย. 2013 7:42 am
โดย อ.บอล
ต่อ นะครับ หลังจากที่เราเรียนรู้เรื่อง โรคเปลือกเน่าแล้ว จะแจ้งสมาชิกเพื่อนที่ทำการรักษายางตายนึ่งอยู่ให้ดูอาการนี้ด้วยนะครับ

เนื่องจากโรคเปลือกเน่าเมื่อใช้ฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์ เข้าไปรักษาแล้ว จะทำให้เปลือกที่เน่าแห้งลง และหลุดออกมาจากเซลล์ที่เน่า และจะทำการสร้างเปลือกยางใหม่ออกมาเพื่อทดแทนเปลือกเก่าที่หลุดออกไป

อาการเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ดีนะครับ แต่ต้องอธิบายชาวสวนยางด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นกับต้นยางของเขา

เพราะชาวสวนยางบางท่านไม่รู้เรื่องอะไรเลย เห็นเปลือกหลุดก็โวยวายจะเป็นจะตาย บอกยาไม่ดีมั่ง
เปลือกยางหลุดแล้วจะเรียกร้องค่าเสียหายมั่ง

อันนี้น่ากลัวนะครับ เพราะเขาไม่รู้เรื่องอะไรดูตามหน้างานอย่างเดียว

ก่อนที่จะรักษาให้เข็คอาการกันก่อนนะครับ ถ้าหากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบในตอนต่อไปครับ

Re: โรคเปลือกเน่า กับการรักษายางตายนึ่งด้วยฟิวส์ชั่น3+ฟูลพาวเวอร์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 16 มิ.ย. 2013 9:09 am
โดย อ.บอล
ดูอาการกันชัดๆนะครับ