น้ำยางออกน้อยเป็นเชื้อราไฟธอปเธอร่าหรือขาดปุ๋ย+เป็นยาเร่งน้ำยางไหม

รีวิวและอธิบายการใช้สินค้า ในกลุ่มยางพารา
ตอบกลับโพส
sanan
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 26 มิ.ย. 2013 12:00 pm
ติดต่อ:

น้ำยางออกน้อยเป็นเชื้อราไฟธอปเธอร่าหรือขาดปุ๋ย+เป็นยาเร่งน้ำยางไหม

โพสต์ โดย sanan » พุธ 26 มิ.ย. 2013 12:09 pm

รูปภาพ
เป็นสภาพสวนปัจจุบัน

รูปภาพ
เป็นน้ำยาเร่งไหมครับบ ฉีดลงพื้นแล้วเป็นฟอง

รูปภาพ
สภาพใบที่ร่วงเมื่อเช้านี้ 26 มิถุนายน 2556 (ฝนกำลังตก)

รูปภาพ
สภาพใบที่ร่วง

อ.บอล
โพสต์: 882
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 01 เม.ย. 2013 4:49 pm
ติดต่อ:

Re: น้ำยางออกน้อยเป็นเชื้อราไฟธอปเธอร่าหรือขาดปุ๋ย+เป็นยาเร่งน้ำยางไหม

โพสต์ โดย อ.บอล » เสาร์ 29 มิ.ย. 2013 6:56 am

โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า
โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (phytophthora Leaf Fall)


เกิดจากเชื้อรา Phytophthora otryose และ P. palmivora ระบาดในช่วงฤดูฝน เชื้อสาเหตุทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้ทั้งฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราระบาด จนทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมจนใบร่วงถึง 75% จะทำให้ผลผลิตลดลง 30-50%

ลักษณะอาการ : สังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ โดยปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป้นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ในสภาพอากาศเหมาะสม ยางพันธุ์อ่อนแอ ใบจะร่วงหมด ทำให้ต้นอ่อนแอง และผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

การแพร่ระบาด : ความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน โดยที่มีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน ส่วนขยายพันธุ์จะถูกทำลายโดยง่ายด้วยแสงแดดและสภาพอากาศแห้ง เชื้อราสร้าง oospore และ chlamydospore ซึ่งเป็นสปอร์ผนังหนา เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ข้ามฤดูในฝักยางที่เน่าแห้งอยู่บนต้น หรือบนส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เมื่อได้รับสภาพอากาศเหมาะสม ส่วนของเชื้อที่พักตัวจะงอก สร้างส่วนขยายพันธุ์แพร่ระบาดไปตามหยดน้ำฝนทำลายส่วนอื่นต่อไป
คำแนะนำในการควมคุมโรค
เขตที่มีการระบาดควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น BPM 24 และแหล่งปลูกยางที่เป็นเขตระบาดของโรค ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM600
กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง
เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน
ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์
รับผลิตสินค้า อาหารเสริมพืช สั่งผลิตตราตัวเองขั้นต่ำ 1 ลัง ออกแบบแบรนด์ ออกแบบฉลาก ส่งวิเคราะห์ขึ้นทะเบียน ถูกต้อง ขายสบายใจทำตลาดของตัวเอง รับประกันสินค้า มีหลากหลายเกรดให้เลือก สอบถามโทร 0897522999 0815502458 ครับ
http://www.pnpandbest.com

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ฮอร์โมนสำหรับยางพารา สารทาหน้ายาง ปุ๋ยทาหน้ายาง”

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 10