ลำใย การปลูก พันธุ์ ศัตรู (จากกรมวิชาการเกษตร)

ลำใย,ลิ้นจี่,เงาะ,ทุเรียน,มังคุด,มะม่วง,มะยงชิด,น้อยหน่า,ชมพู่,เกี่ยวกับไม้ผล ฯลฯ
ตอบกลับโพส
อ.บอล
โพสต์: 882
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 01 เม.ย. 2013 4:49 pm
ติดต่อ:

ลำใย การปลูก พันธุ์ ศัตรู (จากกรมวิชาการเกษตร)

โพสต์ โดย อ.บอล » ศุกร์ 16 พ.ค. 2014 12:02 pm

ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่มสินค้าเพื่อการส่งออก มูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท ทั้งในรูปลำไยสด อบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง องค์ประกอบหลักของเนื้อลำไยคือ Soluble Substances 79-77% ซึ่งประกอบด้วย กลูโคส 26.91% ซูโครส 0.22% กรดทาทาริค 1.26% สารประกอบไนโตรเจน 6.31% โปรตีน 5.6% ไขมัน 0.5% และธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น Ca, Fe, P, Na, K และวิตามิน

ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
- การแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งบางส่วนยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
- การรมควันลำไยสดด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณที่มากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกและส่งผลกระทบถึงราคา
- การออกดอกออกผลไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลผลิตไม่แน่นอนในแต่ละปี
- ขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว
- ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
- ผลผลิตกระจุกตัวออกสู่ตลาดพร้อมกันในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้ราคาตกต่ำในช่วงดังกล่าว
- คุณภาพของผลผลิตบางส่วนไม่ได้มาตรฐานส่งออก
การกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่ทั่วถึง
ขาดห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย/แปรรูป
- ผู้ประกอบการลำไยอบแห้ง ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินการทำให้ขาดอำนาจการต่อรองในการซื้อขาย
การผลิต
- ประเทศที่สามารถผลิตลำไยได้คือ ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนามและไต้หวัน โดยเฉพาะจีนถือได้ว่าเป็นประเทศคู่ค้าและคู่แข่งในเรื่องลำไยที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และตาก นอกนั้นปลูกในภาคอื่น ๆ เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์ดอ รองลงมาคือ พันธุ์ สีชมพูและเบี้ยวเขียว

การตลาด
ประเทศจีน มีความต้องการบริโภคลำไยสดปีละประมาณ 0.20-0.25 ล้านตัน สำหรับลำไยอบแห้งความต้องการบริโภคคาดว่าปีละประมาณ 0.05 ล้านตัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและเวียดนาม ประเทศเวียดนาม มีความต้องการบริโภคในประเทศ ประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตที่ได้ ซึ่งอยู่ในรูปลำไยสด และน้ำลำไยกระป๋อง ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศจีนและฮ่องกงในรูปแบบลำไยอบแห้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อลำไยอบแห้งประมาณปีละ 10,000 ตัน และลำไยอบแห้งทั้งปีประมาณ 0.0005-0.0010 ล้านตัน
ผลผลิตลำไยสดในแต่ละปีจะใช้บริโภคภายในประเทศเพียง 30% ส่งออกในรูปผลสดและผลิตภัณฑ์ 70% และไม่มีการนำเข้าประเทศเลย

ตลาดส่งออกลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็งและลำไยกระป๋องของประเทศไทย
ประเภท ตลาดส่งออกลำไย
ลำไยสด ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
ลำไยอบแห้ง จีน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์
ลำไยแช่แข็ง สหรัฐอเมริกา
ลำไยกระป๋อง มาเลเซีย

พันธุ์

พันธุ์ดอ :
เป็นพันธุ์เบา ทำให้ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุด เจริญเติบโตดี ยอดอ่อนมีทั้งยอดสีเขียวและสีแดงลำต้นแข็งแรงเปลือกผลหนา ออกดอกติดผลค่อนข้างสม่ำเสมอ ทรงผลกลมแป้นและเบี้ยวยกบ่าข้างเดียว ผิวผลสีน้ำตาล มีกระหรือตาห่าง เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น เมล็ดใหญ่ ปานกลาง

พันธุ์สีชมพู :
เป็นพันธุ์กลางทรงพุ่มสูง โปร่ง กิ่งเปราะหักง่าย ออกดอกง่าย แต่ติดผลไม่สม่ำเสมอ ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวสีน้ำตาลอมแดง เนื้อหนาปานกลาง นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ รสหวานและหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์แห้ว :
เป็นพันธุ์หนักเจริญเติบโตดีมากยอดอ่อนมีทั้งสีแดงและสีเขียว ผลขนาดใหญ่ ทรงผลกลมและเบี้ยว ฐานผลบุ๋ม เปลือกสีน้ำตาล และหนา เนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์เบี้ยวเขียว :
เป็นพันธุ์หนัก เจริญเติบโตดี ทนแล้งได้ดี แต่jอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ออกดอกยากและมักเว้นปี สามารถแบ่งเป็นเบี้ยวเขียวก้านแข็งและก้านอ่อน ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลกลมแบนเบี้ยวมาก เปลือกสีเขียวอมน้ำตาลและหนาเนื้อหนา กรอบและล่อน รสหวานแหลมและหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

พันธุ์เพชรสาคร :
เป็นพันธุ์ทะวายคือออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ใบมีขนาดเล็กและเรียวแหลม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวาน

การปลูก

การเตรียมพื้นที่ :
ควรเตรียมต้นพันธุ์ดีไว้ล่วงหน้า 1 ปี เตรียมหลุมปลูก ขนาด 80x80x80 ซม.ใช้ระยะปลูก 8x10 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กก./หลุม พูนดินสูงจากปากหลุม 15 ซม.

วิธีปลูก :
วางต้นพันธุ์แล้วกลบโคนให้แน่น ทำหลักป้องกันโยกคลอน รดน้ำให้ชุ่ม พรางแสงช่วงแรก

การให้ปุ๋ย :
ลำไยอายุ 5 ปี ขึ้นไปมีการใส่ปุ๋ยดังนี้คือ
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 สัดส่วน 1:1 ต้นละ 2 กก.
- ต้นเดือนกันยายน ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 สัดส่วน 1:1 ต้นละ 2 กก.
- ต้นเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ย 0-46-0+0-0-60 สัดส่วน 1:1 ต้นละ 2 กก.
- ต้นเดือนพฤศจิกายน พ่นปุ๋ยทางใบ 0-52-34 อัตรา 150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- เมื่อลำไยติดผล ขนาด 1 ซม. ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-1.5 กก./ต้น
ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 1-2 กก./ต้น

การใช้น้ำ
ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอกในสัปดาห์แรกให้พรมน้ำเล็กน้อยและค่อยเพิ่มปริมาณเมื่อเข้าสัปดาห์ที่สอง จึงเริ่มให้น้ำอย่างเต็มที่คือต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร ให้น้ำ ครั้งละ 200-300 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

การตัดแต่งกิ่ง
อายุ 1-3 ปี ตัดแต่งให้มีลักษณะทรงพุ่มกลม
อายุ 4-5 ปีขึ้นไป ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวโดยตัดกิ่งกลางทรงพุ่มออก พร้อมทั้งตัดกิ่งที่ถูกทำลายจากโรค-แมลงทิ้ง
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคราน้ำฝนหรือโรคผลเน่า :
ทำให้ผลเน่าและร่วง สามารถป้องกันกำจัดด้วยสารเมทาเเลกซิล
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ เมื่อเชื้อราเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่าและร่วง แผลมีสีน้ำตาล เข้าทำลายที่ใบอ่อนยอดอ่อน จะเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เชื้อราสร้างเส้นใยและสปอร์สีขาวฟูบนแผลที่ผล
ช่วงเวลาระบาดฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุก
การป้องกันกำจัด
- ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะ ไม่ปลูกชิดเกินไป
- ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
- บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ
- เก็บผล และใบลำไยที่เป็นโรคซึ่งร่วงหล่นบนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม เผาทำลายนอกแปลงปลูก ควบคุมโรคโดยชีววิธี ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บาซิลลัส ผสมน้ำพ่นให้ทั่วทั้งต้นพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัด
ใช้เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ(72%WP) อัตราการใช้ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน

โรครากและโคนเน่า :
ต้นเหลืองทรุดโทรม รากและโคนต้นเน่า ยืนต้นแห้งตายอย่างรวดเร็ว การป้องกันกำจัดโดยใช้ สารไซม๊อกซานิล+แมนโคเซบ (72% WP)
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ต้นเหลืองทรุดโทรม รากและโคนต้นเน่า มีสีน้ำตาลปนม่วงและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวต้นลำไยที่เป็นโรคจะยืนต้นแห้งตายอย่างรวดเร็ว
ช่วงเวลาที่ระบาด ฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน
การป้องกันกำจัด - ปฏิบัติเหมือนการป้องกันกำจัดโรคราน้ำฝนหรือโรคผลเน่า
- หลีกเลี่ยงการขุดดินภายใต้ทรงพุ่มซึ่งจะทำให้รากขาด
- หมั่นตรวจแปลงโดยสม่ำเสมอ และกำจัดต้นที่เป็นโรคทันทีโดยขุดแล้วเผาทำลาย
- ควบคุมโรคโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บาซิลลัส ผสมคลุกเคล้ากับดินในทรงพุ่ม และผสมน้ำพ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโรคและต้นข้างเคียง
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช
ไซม๊อกซานิล+แมนโคเซบ(72%WP) 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน

โรคผลเน่าสีน้ำตาล :
ผลเน่าแล้วร่วง แผลสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ป้องกันกำจัดโดยใช้จุนสี+โซดาซักผ้า
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ผลเน่าแล้วร่วง แผลสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ไม่พบเส้นใยและสปอร์ของเชื้อบนแผล
ช่วงเวลาระบาด ฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุก
การป้องกันกำจัด - ปฏิบัติเหมือนการป้องกันกำจัดโรคผลเน่าและใบไหม้
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช
จุนสี+โซดาซักผ้า 0.4-0.6%+0.2% ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นผิวดินบริเวณโคนต้นลำไย

โรคพุ่มไม้กวาด:
เกิดอาการแตกยอดฝอยและทำให้ต้นทรุดโทรม ป้องกันกำจัดโดยการตัดแต่งกิ่งเป็นโรคเผาทำลาย พ่นด้วยกำมะถันผงหรืออามีทราซ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคนี้
สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา
ลักษณะอาการ ส่วนที่เป็นตาเกิดอาการแตกยอดฝอย เป็นมัดไม้กวาด หากเป็นรุนแรงทำให้ต้นลำไยทรุดโทรม
ช่วงเวลาระบาด เดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม โดยมีไรลำไยเป็นพาหะนำโรค
การป้องกันกำจัด
- ขยายพันธุ์ปลูกจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค
- ตัดกิ่งเป็นโรคออกเผาทำลาย
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ
- พ่นสารป้องกันกำจัดไร ซึ่งเป็นพาหะของโรค ตามคำแนะนำในการป้องกันกำจัดไร
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช
ใช้กำมะถันผง (80% WP) 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ผีเสื้อมวนหวาน :
ทำลายผลในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ป้องกันกำจัดด้วยการห่อผลด้วยกระดาษ ใช้เหยื่อพิษชุบสารคาร์บาริล หรือใช้แสงไฟล่อผีเสื้อ
ลักษณะและการทำลาย เป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดปีกกว้าง 3-5 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาล คู่หลังสีเหลืองทอง มีลายรูปไต ตาสีแดงสะท้อนแสงไฟ ผีเสื้อเจาะกินน้ำหวานจากผล ทำให้มีน้ำไหลเยิ้มออกจากรูที่ถูกเจาะ และเชื้อโรคเข้าทำลายซ้ำ
ช่วงเวลาระบาด ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม
การป้องกันกำจัด
- ห่อช่อดอกด้วยกระดาษเพื่อป้องกันการเข้าทำลาย
- กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชอาหารของหนอน เช่น ย่านาง ต้นข้าวสาร และบอระเพ็ด
- ใช้ไฟส่อง จับผีเสื้อทำลายโดยใช้สวิงโฉบช่วงเวลา 20.00-22.00 น.)
- ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ใช้เหยื่อพิษ โดยใช้สับปะรดสุก ตัดเป็นชิ้นจุ่มในสารป้องกันศัตรูพืชตามคำแนะนำ
การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
คาร์บาริล (85% ดับบลิวพี) 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้สับปะรดสุกตัดเป็นชิ้นจุ่มนาน 1 นาที ไปแขวนในสวน หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
รับผลิตสินค้า อาหารเสริมพืช สั่งผลิตตราตัวเองขั้นต่ำ 1 ลัง ออกแบบแบรนด์ ออกแบบฉลาก ส่งวิเคราะห์ขึ้นทะเบียน ถูกต้อง ขายสบายใจทำตลาดของตัวเอง รับประกันสินค้า มีหลากหลายเกรดให้เลือก สอบถามโทร 0897522999 0815502458 ครับ
http://www.pnpandbest.com

ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ไม้ผล”

ผู้ใช้งานขณะนี้

สมาชิกกำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และบุคลทั่วไป 4