หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เทคนิค การปรับแต่ง ค่า C/N ในลำไย

โพสต์แล้ว: พุธ 12 เม.ย. 2017 6:02 am
โดย อ.บอล
ความสมบูรณ์ของต้นลำไย คือ ในต้นมีการสะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม N และ C อย่างเพียงพอไว้ก่อนแล้ว การที่อุณหภูมิลดลง (หนาว) ทำให้ต้นลำไยคายไนโตรเจน จนกระทั่งในต้นมี N เหลือน้อย แล้วเหลือแต่ C เพราะต้นไม่คาย C ...... เมื่อใดที่ N น้อยกว่า C แล้วเปิดตาดอก ลำไย ก็จะออกดอกเป็นธรรมดา
ลำไยในพื้นที่ ที่อุณหภุมิไม่ต่ำ (คือไม่หนาว) แต่เราทำให้ต้นลำไยคาย N ออกมากๆ แล้วให้เหลือแต่ C จนกระทั่ง N น้อยกว่า C เมื่อเปิดตาดอกก็ออกดอกได้เหมือนกัน
เทคนิคการปรับลด N แล้วเพิ่ม C แบบง่ายๆแต่ตามวิถีธรรมชาติ คือ งดน้ำ แล้วให้สารอาหารกลุ่ม C ทั้งทางใบทางราก ถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น เป้าหมายเพื่อให้ N น้อยกว่า C มากๆ ให้ได้นั่นเอง
สารอาหารกลุ่ม N คือ N
สารอาหารกลุ่ม C คือ P, K, Ca, Mg, S, Fe, Cu, Zn, Mn, Mo, B, Si, Na, ฯลฯ
ธรรมชาติการออกดอกของไม้ผล :
C มากกว่า N เปิดตาดอก ออกเป็นดอก
C น้อยกว่า N เปิดตาดอก ออกเป็นใบ
C เท่ากับ N เปิดตาดอก ออกเป็นใบแซมดอก หรือใบ
การให้สารโพแทสเซียมคลอเรต บังคับลำไยโดยการราดลงไปที่ราก สารตัวนี้ไปทำลายระบบรากให้หยุดการทำงาน (ตรวจสอบโดยแหวกดินดูราก หลังจากราดสารแล้ว) นั่นคือ รากไม่สามารถดูดน้ำ (N) ไปหล่อเลี้ยงต้นได้ เป็นเหตุให้ต้นขาดน้ำ ซี่งก็เท่ากับขาด N โดยปริยาย.....แต่ลำไยก็ยังออกดอกได้ นั่นเป็นเพราะสารอาหารกลุ่ม C ที่ต้นสะสมธาตุอาหารในขั้นตอนการเตรียมต้นไว้ก่อนแล้ว
ลำไยที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ที่เป็นวัตถุไวไฟปีต่อปี ต้นจะโทรม เพราะระบบรากยังไม่ฟื้น ต้นจะมีอาการหลังราดสารคือ ใบเหลือง,ร่วง,บิด,งอ แก้ไขโดยการเปลี่ยนมาใช้สารชนิดฉีดพ่นทางใบสลับกับราดทางดินปีเว้นปี เพื่อเป็นการพักรากลำไยและเปิดโอกาสให้ระบบรากได้ฟื้นตัวเร็ว
ลำไยราดสาร หลังจากติดผลแล้ว การบำรุงด้วยปุ๋ยทางรากสูตรต่างๆไม่ค่อยได้ผล เพราะระบบรากยังไม่พร้อม แต่ชาวสวนลำไยก็ยังยึดติดให้ปุ๋ยทางรากอยู่อย่างนั้น เพราะความซึ่งเป็นเคยชิน แนวทางแก้ไข คือ ให้พ่นทางใบเป็นหลัก.....ลำไยที่ราดสารควรบำรุงทางใบเป็นหลัก